Friday, November 30, 2012

ประโยชน์ของวิตามินชนิดต่างๆ

วัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 20-59 ปี

 เป็นวัยที่ต้องการพลังงาน ความแข็งแรง ความกระฉับกระเฉง มีสมองที่ปลอดโปร่ง แต่เมื่อวัยที่มากกว่า 30 ปีขึ้นไปก็เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย ความแข็งแรงของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ก็จะเริ่มเสื่อมโทรมลง บางคนเริ่มมีริ้วรอย ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น ผมเริ่มหงอก คนวัยนี้จึงควรตื่นตัว และหาวิธีการที่จะชะลอความเสื่อมของร่างกายด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีชีวิต ทั้งการออกกำลังกาย การพักผ่อน และพิถีพิถันในการบริโภคอาหารมากกว่าวัยอื่น เพราะวัยนี้ต้องการสารอาหารบางอย่างเพิ่มขึ้นเพื่อดำรงสภาพและชะลอความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะวัยทำงานที่เริ่มเข้าสู่ วัยทอง (อายุ 45-60 ปี) ที่ฮอร์โมนเพศเริ่มทำงานน้อยลง ทำให้มีอาการหงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบตามตัว และมีโรคต่างๆ เข้ามารุมเร้าได้ง่าย เช่น โรคกระดูกพรุน โรคเลือด โรคหัวใจ และยังก่อให้เกิดอาการต่างๆ ร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม เวียนศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยง่าย สารอาหารหลายชนิดสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยชะลอและลดอาการดังกล่าวได้

 การดูแลสุขภาพสำหรับคนวัยทำงาน

แบบทดสอบสมรรถภาพของร่างกายสำหรับคนวัยทำงาน

เหนื่อยง่าย หมดแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ

อ่อนเพลีย นอนหลับพักผ่อนแล้วก็ไม่ดีขึ้น

มีอาการซึมเศร้าบ้าง เป็นครั้งคราว

ปวดศีรษะบ้าง เป็นครั้งคราว

รับประทานอาหาร ต่อวัน ไม่ครบ 5 หมู่

ไม่มีเวลารับประทานอาหารเช้า

ไม่มีโอกาสรับประทานผักหรือผลไม้เป็นประจำทุกวัน

ต้องทำงานหนัก นอนดึก

ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ทั้งๆ ที่ร่างกาย มีไขมันเยอะ และรู้สึกกังวลเรื่องน้ำหนักตัว

ไม่มีเวลาไปพบแพทย์ และไม่อยากไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพราะกลัวจะตรวจเจอโรคเรื้อรัง

 อาการลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบและไม่มีโอกาสเลือกสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตได้มากนัก เพียงท่านมีข้อหนึ่งข้อใดในหัวข้อที่กล่าวมา น่าจะต้องระมัดระวังว่าท่านมีกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเรียกว่าโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดแต่มีข้อมูลว่า อาจเกี่ยวข้องกับภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการได้รับสารพิษ ความดันโลหิตต่ำ หรือระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ

สำหรับวัยทำงานที่เริ่มเข้าสู่ วัยทอง (อายุ 45-60 ปี) ที่ฮอร์โมนเพศเริ่มทำงานน้อยลง ทำให้มีอาการหงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบตามตัว และมีโรคต่างๆ เข้ามารุมเร้าได้ง่าย เช่น โรคกระดูกพรุน โรคเลือด โรคหัวใจ และยังก่อให้เกิดอาการต่างๆ ร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม เวียนศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยง่าย สารอาหารหลายชนิดสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยชะลอและลดอาการดังกล่าวได้

- น้ำมันปลาซึ่งประกอบไปด้วยโอเมก้า-3 คือ EPA และ DHA การได้รับน้ำมันปลา 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยป้องกันความเครียดและอารมณ์หดหู่ ทั้งยังช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดความดันโลหิต

- เลซิติน เป็นสารที่ส่วนใหญ่สกัดจากถั่วเหลือง มีส่วนช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท โดยช่วยให้การประสานงานระหว่างเซลล์ประสาทเป็นไปได้ดีขึ้น โดยควรได้รับวันละ 2,400-3,600 มิลลิกรัม

- โคเอนไซม์ คิวเทน(Co-enzyme Q10)มีส่วนในการส่งเสริมพลังงานในร่างกายโดยในทุกเซลล์ต้องการโคเอนไซม์ คิวเทน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเเผาผลาญพลังงานในระดับเซลล์ ด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นร่างกายจะมีการสร้างโคเอนไซม์ คิวเท็น ลดลง จึงควรเสริมวันละประมาณ 50-100 มิลลิกรัม

- โสมสกัด เป็นสารอาหารที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก ว่ามีส่วนช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย โดยออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กระชุ่มกระชวย และมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้กล้ามเนื้อมีความสามารถดีขึ้น โดยปกติโสมเป็นสมุนไพรที่มีผลกว้างเพื่อเสริมสร้างความต้านทานของร่างกาย โดยไปต้านทานการเกิดโรค ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการนอนไม่หลับหรือลดอาการเครียด

- วิตามินบี มีส่วนสำคัญในการบำรุงสมองและระบบประสาทได้ดี มีผลวิจัยพบว่าการได้รับวิตามินบีปริมาณสูงพอ มีส่วนช่วยให้สมองปลอดโปร่ง อารมณ์ดี ช่วยลดความเครียด รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้เกิดการเผาผลาญพลังงานในเซลล์ ทำให้ร่างกายรู้สึกมีพลังอยู่เสมอ

- วิตามิน ซี ซึ่งการรับประทานเป็นประจำจะช่วยชะลอความแก่และป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย โดยวิตามินซีควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

- แร่ธาตุสังกะสี วันละ 10-19 มิลลิกรัม มีส่วนช่วยให้ร่างกายเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ยังคงความหนุ่ม ไม่แก่ก่อนวัยอันควร

- กระเทียมสกัดมีผลช่วยลดทั้งไขมันไตรกลีเซอไรด์ และไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด และช่วยให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น ปริมาณที่เหมาะสมควรได้รับวันละ 2-5 มิลลิกรัม

-วิตามิน อี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดการเกาะกันของเกร็ดเลือด จึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทั่วไปควรได้รับวิตามิน อี วันละ 400 มิลลิกรัม


 คุณประโยชน์ของสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

OPC/Grapeseed Extract (สารสกัดจากเมล็ดองุ่น)

OPC เป็นชื่อย่อของ Oligoneric Proanthocuanidin จัดเป็นสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารสีแดงชื่อแอนโทไซยานิดิน

OPC เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่า (Antioxidant) อื่นๆ จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น Superantioxidant โดยพบว่ามีประสทธิภาพแรงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และแรงกว่าวิตามินอี 50 เท่า นอกจากนี้ OPC เมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินซี จะช่วยเสริมฤทธิ์ให้วิตามินคงตัว และออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นบางคนจึงเรียก OPC ว่าเป็นวิตามินซีโคแฟกเตอร์ (Vitamin C cofactor)

OPC พบในส่วนผสมของผิวและเมล็ดของผลไม้หลายชนิด คือ องุ่น บลูเบอรี่ เชอรี่ พลัม รวมทั้งเปลือกสน แต่แหล่งที่สำคัญของ OPC คือเมล็ดองุ่น (Grape seed) ความจริงในเนื้อองุ่นทั้งองุ่นเขียว และองุ่นม่วงก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่มากเท่าในเมล็ด ดังนั้น ในไวน์แดง ซึ่งเด้จากการหมักผลองุ่นพร้อมเล็ดจึงมี OPC อยู่ไม่น้อย จึงมีผู้แนะนำให้ดื่มไวน์แดงเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ที่คาดหวังจะได้ OPC มาก จากการดื่มไวน์แดงคงจะไม่คุ้มกัน เพราะจะได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปไม่น้อย อาจทำให้เป็นโรคตับแข็งก่อนก็เป็นได้
ในเมล็ดองุ่นแม้จะเป็นแหล่งที่ดีของ OPC แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทานเมล็ดองุ่น โดยตรงเพราะมีสารชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จึงมีการนำเมล็ดองุ่นมาสกัดได้เป็นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed Extract) ซึ่งอุดมด้วยสาร OPC พบว่า ในสารสกัดจากเมล็ดองุ่นจะมีปริมาณของ OPC สูงสุดร้อยละ 95 รองลงมาคือเปลือกสนมี OPC ร้อยละ 80-85 นอกจากนี้ OPC จากเมล็ดองุ่น ยังมีประสิทธิภาพและความเข้มข้นสูงกว่าที่พบในเปลือกสนด้วย

OPC มีบทบาทต่อสุขภาพอย่างไร
1.               ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ OPC จะยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด จึงป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
2.               ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย เนื่องจาก OPC สามารถรวมตัวกับคอลลาเจนของผนังหลอดเลือดได้ดี จึงป้องกันอนุมูลอิสระ ที่จะมาทำลายเซลผนังหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดหรือโป่งพองได้
3.               ต้านการอักเสบ OPC จะยับยั้งการสังเคราะห์และการปล่อยสารที่จะทำให้เกิดการอักเสบทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของข้อต่างๆ ทำงานได้ดี ลดอาการข้อกระดูกอักเสบ โรคเนื้อเยื่อแย็ง
4.               ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮิสตามิน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้หอบหืด
5.               ป้องกันสมองเสื่อม OPC สามารถผ่านแนวกั้นสมองได้ จึงป้องกันสมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
6.               ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี
7.               ป้องกันมะเร็ง OPC ป้องกันมิให้อนุมูลอิสระไปทำความเสียหายต่อ DNA ของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
8.               ป้องกันริ้วรอย ฝ้า กระ OPC ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจน และอิลาสตินในผิวหนัง อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ เกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ยังปกป้องผิวจากรังสี uv ทำให้ฝ้าและกระ จางลง ทำงานร่วมกันกับวิตามินซีในการทำให้คอลลเจนทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น และยังช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินซีและอี

นำมาจาก http://www.organellelife.com/article_view.php?id=17

วิตามินกินอย่างไร

วิตามินที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารที่เรากินเข้าไปค่ะ และส่วนหนึ่งร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง วิตามินที่ดีจึงต้องสกัดจากอาหาร ถึงอย่างไร เราก็ไม่กินวิตามินแทนอาหารนะคะ และวิตามินไม่ใช่ยา แต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิต (Organic) ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่ช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ถูกต้อง และช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะถ้าขาดวิตามินแล้วร่างกายจะหยุดทำงานค่ะ

ในที่นี้จะขอเล่าถึงวิตามินบางตัวที่มีความสำคัญต่อภูมิชีวิต (Immune System) เรา ซึ่งที่น่ารู้จักก็คือ วิตามินในกลุ่มแอนติออกซิแดนท์ ได้แก่ A, C, D และ E และกลุ่มวิตามิน B ชนิดต่างๆ

วิตามิน A: พบในน้ำมันตับปลา ผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม และหัวบีทรู้ท
ประโยชน์ * ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน

* ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
* สร้างความต้านทานให้แก่ระบบหายใจ

* ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
* ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดอาการอักเสบของสิว ช่วยลบจุดด่างดำ และจุดวัยสูงอายุ

* ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์
ปริมาณที่แนะนำ

* ผู้ชายควรกินอาหารที่มีวิตามิน A 1,000 R.E. หรือเท่ากับ 5,000 I.U. ต่อวัน
* ผู้หญิงควรกินอาหารให้ได้วิตามิน A 800 R.E. หรือ 4,000 I.U. ต่อวัน

* หากกำลังตั้งครรภ์ควรกินเพิ่มเป็น 1,000 R.E. หรือ 5,000 I.U. ต่อวัน
* สำหรับการกินวิตามิน A เป็นอาหารเสริมควรกินวันละ 10,000 I.U.

วิตามิน C
ประโยชน์

* เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นตัวเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
* ช่วยแผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น

* ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
* ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (MUTATION)

* ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตาย (SIDS) ในกรณีเด็กอ่อน
* ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน

* ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
* ช่วยคลายเครียด

ปริมาณที่แนะนำ

ในรายที่ขาดวิตามิน C ควรกิน เสริม วันละ 1,000 mg
วิตามิน D: พบมากในเนย นม เนยแข็ง และในแดด ดังนั้น เราจึงควรตากแดดวันละ 2-3 ชั่วโมง
ประโยชน์

* ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร เพิ่มพลังงาน และช่วยรักษาสิว ทั้งนี้หากกินร่วมกับวิตามิน B6 ในขนาดสูงๆ จะช่วยรักษาข้ออักสบ และโรคเรื้อนกวาง (สะเก็ดเงิน) ได้
ปริมาณที่แนะนำ

ควรกินวิตามิน D เสริม วันละ 1,000 I.U
วิตามิน E

ประโยชน์
* หน้าที่สำคัญที่สุดของวิตามิน E เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญ (OXIDATION) โดยมีตัวออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้น เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด ช่วยลอความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ

* บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมากมาย
* ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ

* บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมากมาย
* ช่วยให้ผิวหนังสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น

* ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น และไม่อ่อนเพลียง่าย
ปริมาณที่แนะนำ

* ควรกินวิตามิน E เสริม ขนาดเม็ดละ 400 I.U. วันละ 2 เม็ด เช้า-เย็น
* ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจเกิดความดันโลหิตสูงได้ในบางราย วิธีแก้อาการดังกล่าวคือ ควรกินในปริมาณ 100 I.U. ก่อน แล้วจึงเพิ่มปริมาณเป็น 200 I.U. และ 400 I.U. ตามลำดับ
* หากกินเหล็กและวิตามิน E พร้อมกัน จะเกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดวึมวิตามิน E ได้ วิธีแก้คือ ควรแยกกินวิตามิน E ก่อนธาตุเหล็ก 8-12 ชั่วโมง

วิตามิน B1 หรือ Thiamin
ประโยชน์

* จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจ และกล้ามเนื้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยแก้อาการเมาคลื่น และเมาอากาศ
* ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัด (Herpes Zoster) ให้หายเร็วขึ้น

ปริมาณที่แนะนำ
* ถ้าต้องการกินวิตามินชนิดนี้เป็นอาหารเสริมควรกินวันละ 1 เม็ดหลังอาหาร เม็ดละ 100 mg

* หากเกิดอาการเครียด ตื่นเต้น เจ็บป่วยโดยเฉพาะหลังผ่าตัด ควรกินวิตามิน B1 ร่วมกับวิตามิน B Complex (วิตามินบีรวม) * คนที่ควรกินวิตามิน B1 เสริม คือ
- คนที่ชอบกินของหวานๆ กับแป้งขาวมากๆ หรือสูบบุหรี่ และดื่มเหล้าจัด ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคขาดวิตามิน B1 ได้

- คนที่กินยาลดกรดในกระเพาะเป็นประจำ เพราะยาลดกรดจะทำลายวิตามิน B1 ในอาหารให้เหลือน้อยลง
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ

วิตามิน B6 หรือ Pyridoxine
ประโยชน์

* ช่วยเปลี่ยนแอมิโนแอซิดให้เป็นวิตามินอีกตัวคือ Niacin หรือวิตามิน B3 ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตให้ดียิ่งขึ้น

* ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และแร่ธาตุแมกนีเซียม
* ช่วยบรรเทาโรคเกิดระบบประสาทและผิวหนัง

* ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้ และอาเจียน
* ช่วยบรรเทาอาการปากแห้ง และคอแห้ง

* ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชา และช่วยขับปัสสาวะ
ข้อแนะนำสำหรับบางคน

* ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดควรกินวิตามิน B6 เป็นประจำ
* ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าต้องใช้อินซูลิน ควรกินวิตามิน B6 ควบ และปรับอัตราการใช้อินซูลินให้ได้ตามส่วนของน้ำตาลในเลือด

วิตามินB12 หรือ Cobalamin
ประโยชน์

* ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
* ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร

* ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
* ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดี และมีสมาธิ

ข้อแนะนำสำหรับบางคน
* ผู้หญิงที่อ่อนเพลียเพราะประจำเดือนมามาก ควรกินวิตามิน B12 เสริม

* ผู้ที่เป็นมังสะวิรัติอย่างเคร่งครัด ก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเช่นกัน
* ผู้ที่ติดเหล้าหรือดื่มจัดก็ควรกินวิตามิน B12 เสริมเป็นประจำ

วิตามิน B3 หรือ Niacin
ประโยชน์

* ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
* รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

* ช่วยอาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
* ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน

* ช่วยบรรเทาโรคอาไทรทิสและข้ออักเสบ
* ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทางเซ็กซ์

* ช่วยลดความดันโลหิตสูง
ปริมาณที่แนะนำ

* สามารถกินวิตามิน B3 เสริมได้ตั้งแต่ 100 - 2,000 mg ต่อวัน
* สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจควรใช้ในปริมาณที่สูงถึงวันละ 7,000-8,000 mg

วิตามิน B5 หรือ Pantoyhenic Acid
ประโยชน์

* ช่วยสร้างแอนติบอดี้ซึ่งเป็นตัวสำคัญของ Immune System หรือภูมิชีวิต
* เมื่อร่างกายเปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน วิตามินB5 จะเป็นตัวสำคัญในการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล

* ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
* ช่วยให้ร่างกายหายจากการช็อคหลังการผ่าตัดใหญ่
* ช่วยให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น

ปริมาณที่แนะนำ

* ในรายที่ขาดวิตามิน B5 ควรกินเสริมวันละ 2 เม็ด เม็ดละ 100 mg
วิตามิน B Complex

ประโยชน์
* ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นก ลูโคส ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของโปรตีนและไขมัน

* ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ตามปกติ
* ช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น

* ช่วยบำรุงผิวหนัง เส้นผม ตา ปาก และตับ
* ในกลุ่มชีวจิตเราเชื่อว่าเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป การดูดซึมของลำไส้จะทรุดโทรมลง ต้องแก้ไขด้วยการบริหารร่างกายและใช้วิตามินกลุ่ม B Complex

ปริมาณที่แนะนำ

* ตามปกติผู้ที่กินอาหารตามสูตรของชีวจิต จะได้รับวิตามิน 2 ชนิดนี้เพียงพอ
* ถ้าเป็นอาหาร วันหนึ่งๆ เรามีวิตามิน 2 ชนิดนี้รวมกันวันละ 300-400 mg ก็เพียงพอแล้วแต่ถ้าใช้เป็นยาต้องใช้ถึงวันละ 3,000-5,000 mg

วิตามินกินอย่างไร วิตามินที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารที่เรากินเข้าไปค่ะ และส่วนหนึ่งร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง วิตามินที่ดีจึงต้องสกัดจากอาหาร ถึงอย่างไร เราก็ไม่กินวิตามินแทนอาหารนะคะ และวิตามินไม่ใช่ยา แต่เป็นสารสกัดจากสิ่งมีชีวิต (Organic) ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่ช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ถูกต้อง และช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะถ้าขาดวิตามินแล้วร่างกายจะหยุดทำงานค่ะ
ในที่นี้จะขอเล่าถึงวิตามินบางตัวที่มีความสำคัญต่อภูมิชีวิต (Immune System) เรา ซึ่งที่น่ารู้จักก็คือ วิตามินในกลุ่มแอนติออกซิแดนท์ ได้แก่ A, C, D และ E และกลุ่มวิตามิน B ชนิดต่างๆ


ประโยชน์ของวิตามินซี

- วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทานวิตามินซีตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัดจะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทานวิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัดจะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซีสามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

- วิตามินซีช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้นเนื่องจากวิตามินซีช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงและต่อต้านอาการอักเสบจึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาดวิตามินซีก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

- หากรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน มันจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดยวิตามินซีจะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

- เพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

- เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจนโดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยววิตามินซีกับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

- ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจากวิตามินซีสามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจก ลดลงถึง 77%

- บรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ววิตามินซีมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซีช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

- ช่วยป้องกันอาการไมเกรนเมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดยวิตามินซีจะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

- ช่วยเรื่องความจำ โดยวิตามินซีจะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

ขนาดวิตามินซีที่รับประทาน
ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้งกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม หากเราได้รับวิตามินซีน้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับก็จะเกิดลักปิดลักเปิดซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจากวิตามินซีสามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะอีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามินซีแม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 - 18,000 มิลลิกรัม



ข้อปฏิบัติในการรับประทานวิตามินซีเพื่อประโยชน์สูงสุด

- เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรพิจารณารับประทานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระตัว อื่นๆ เช่น วิตามินอี ฟลาโวนอย จะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซี

- เพื่อสุขภาพทั่วไปควรรับประทานอย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน

- สำหรับการรับประทานเพื่อการรักษาหรือการป้องกันควรรับประทาน 1,000 – 6,000 มิลลิกรัม ขึ้นกับโรคแต่ละชนิด

- การรับประทานไม่จำเป็นต้องรับประทานในครั้งเดียวต่อวันสามารถแบ่งรับประทานเป็นหลายๆ ครั้งต่อวัน

- การรับประทานวิตามินซีไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหารหรือทานอาหารก่อนการรับประทาน

- ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซีชนิดพิเศษพวก Esterifies วิตามินซี จะให้ผลดีกว่าวิตามินซีแบบธรรมดา


โทษของวิตามินซี

- การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น Copper Selenium

- การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการผิดพลาดของผลตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้

- วิตามินซีทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีจึงอาจจะเกิดภาวะได้รับธาตุเหล็กเกิน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการประชาสัมพันธ์ ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก บทความสุขภาพ จาก N3K

http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5